เมนู

ราคะ เป็นส่วนหนึ่งแห่งธรรมายตนะ กาโมฆะ ภโวฆะ เป็นส่วนหนึ่ง
แห่งสักกายะ ดังกล่าวนี้จัดเป็นสมุทัยสัจ, นิพพานกล่าวคือฝั่งโน้น จัดเป็น
นิโรธสัจ, อริยมรรค จับเป็นมรรคสัจ.
ในสัจจะ 4 นั้น สัจจะ 2 ( ข้างต้น ) เป็นวัฏฏะ สัจจะ 2
( ข้างหลัง ) เป็นวิวัฏฏะ. สัจจะ 2 ( ข้างต้น ) จัดเป็นโลกิยะ สัจจะ 2
( ข้างหลัง ) จัดเป็นโลกุตตระ, สัจจะ 4 ดังกล่าวนี้ พึงแสดงจำแนก ด้วย
อาการ 16 6 หมื่นนัยและ ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูป ผู้เป็น
วิปจิตัญญู ดำรงอยู่ในพระอรหัต. แต่พระสูตร ทรงแสดง ด้วยอำนาจ
ทุกขลักขณะ.
จบ อรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ 1

2. รถสูตร


ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัส


[317] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการ
ย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมเป็นอันภิกษุนั้น
ปรารภเหตุเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม 3 ประการเป็นไฉน. คือ
ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 1 รู้ประมาณในโภชนะ 1
ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูป
ด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวม
จักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ

อภิชฌาและโทมนัสดรอบงำ ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ ภิกษุฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูก
ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ
อนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อความสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวม
แล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำ ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นายสารถีฝึกม้าผู้ฉลาด เป็นอาจารย์ฝึกฝนม้า ขึ้นสู่รถอัน
เทียมม้าแล้วซึ่งมีแส้อันวางไว้แล้ว ถือเชือกด้วยมือซ้าย ถือแส้ด้วยมือขวา
ขับไปทางหน้าก็ได้ ถอยกลับข้างหลังก็ได้ ในถนนใหญ่ 4 แยก ซึ่งมีพื้น
เรียบดี ตามความประสงค์ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมศึกษา
เพื่อจะรักษา ศึกษาเพื่อจะสำรวม ศึกษาเพื่อจะฝึกฝน ศึกษาเพื่อจะระงับ
อินทรีย์ทั้ง 6 เหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล.
[318] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ
อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วย
มนสิการว่า เราไม่บริโภค เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ
เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อให้เป็นไปได้
เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าว
มานี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพ
ให้เป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุรุษพึงทายาแผล ก็เพียงเพื่อต้องการให้เนื้อขึ้นมา หรือบุรุษพึงหยอดน้ำ

มันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภค
เพื่อเล่นเพื่อความมัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อ
ดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อให้เป็นไปได้ เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่อ
อนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เราจักกำจัดเวทนา
เก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษ
และความอยู่สบายจักมีแก่เราฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างนี้แล.
[319] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียร
เครื่องตื่นอยู่อย่างไร. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลากลางวัน พอถึง
กลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี
ด้วยการเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาสน์
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่ง
อุฏฐานสัญญาคิดจะลุกขึ้น พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุกขึ้นชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 3 ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วย
ความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และย่อมเป็นอันปรารภเหตุเพื่อความสิ้น
อาสวะทั้งหลาย.
จบ รถสูตรที่ 2

อรรถกถารถสูตรที่ 2


ในรถสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ .
บทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล ความว่า ภิกษุชื่อว่าผู้มากด้วยสุขและ
โสมนัส เพราะภิกษุนั้นมีสุขทางกาย และมีสุขทางใจมาก. บทว่า โยนิ
จสฺส อารทฺธา โหติ
ความว่า และเหตุของภิกษุนั้นบริบูรณ์. ในบท
อาสวานํ ขยา นี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตตมรรคว่าอาสวักขัย. อธิบายว่า
เพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตนั้น. บทว่า โอธตปโตโท ได้แก่แส้ที่ขวางขวาง
ไว้กลางรถ บทว่า เยนิจฺฉกํ ได้แก่ปรารถนาไปทางทิศใด บทว่า ยทิจฺฉกํ
ได้แก่ ปรารถนาการไปใดๆ. บทว่า สาเรยฺย แปลว่า พึงส่งไปวิ่งไปข้างหน้า
บทว่า ปจฺจาสาเรยฺย แปลว่า พึงวิ่งกลับ ( ถอยหลัง ) บทว่า อารกฺขาย
แปลว่า เพื่อประโยชน์แก่อันรักษา. บทว่า สญฺญมาย ได้แก่ เพื่อห้าม
ความสลดใจ. บทว่า ทมาย ได้แก่ เพื่อหมดพยศ. บทว่า อุปสมาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การเข้าไปสงบกิเลส.
ในบทว่า เอวเมวโข มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- เหมือนอย่างว่า
เมื่อนายสารถี ผู้ไม่ฉลาด เทียมม้าสินธพที่ไม่ได้ฝึก ขับรถไปตามทางขรุขระ
(ไม่สม่ำเสมอ) แม้ล้อก็ย่อมแตก แม้เขลาและกีบของม้าสินธพ ก็ถึงความ
ย่อยยับกับทั้งตนเอง และไม่สามารถจะให้แล่นไปได้ตามทางไปตามที่ต้อง
การได้ฉันใด ภิกษุผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ 6 ก็ฉันนั้น ไม่สามารถ
เสวยความยินดีในความสงบตามที่ต้องการได้. ส่วนนายสารถีผู้ฉลาด
เทียมม้าสินธพที่ฝึกแล้ว ให้รถแล่นในพื้นที่เรียบ จับเชือก ตั้งสติไว้
ที่กีบม้าสินธพทั้งหลาย ถือแส้จับให้หมดพยศขับไป ให้มันวิ่งไปตามทาง
ไปที่ตนต้องการ ๆ ฉันใด ภิกษุผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้ง 6 ก็ฉันนั้น